วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559


การเลี้ยงเต่าญี่ปุ่น





บ่อยมากที่จะพบเห็นคำถามซ้ำๆเดิมๆ เรื่อง เต่าญี่ปุ่นไม่กินอาหาร ตาปิด ตาบวม กระดองนิ่ม
สาเหตุทั้งหมด เกิดการการเลี้ยงที่ไม่ถูกวิธีของคนเลี้ยง อันเนื่องมากจากไม่เข้าใจสัตว์เลื้อยคลาน หรือได้รับข้อมูลผิดๆมากจากคนขาย
เราจะป้องกันอาการป่วยเช่นนี้ได้อย่างไร ไม่ยากครับ แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ต้น วันนี้keng_exotic จะมาแนะนำวิธีง่ายๆ เอาแบบสั้นๆได้ใจความมาให้อ่านกันนะค่ะ
1 เริ่มจากที่เลี้ยงจะต้องไม่ใช่ห้องแอร์ และโดนแสงแดดส่องทุกๆวัน แสงแดดสำคัญต่อสัตว์เลื้อยคลานมากๆครับ เพราะแสงแดดจะกระตุ้นให้มีการผลิตวิตามินD3 ซึ่งวิตามินD3นี้จะช่วยให้เต่าสามารถดูดซึมแคลเซี่ยมจากอาหารที่กินเข้าไปได้ครับแค่นี้จะหมดปัญหาเต่ากระดองนิ่มตายได้แล้ว  นอกจากนี้แสงแดดยังช่วยเรื่องการป้องกันการขาดวิตามินA ถ้าขาดเต่าจะตาปิดและบวมถ้าปล่อยให้ถึงขึ้นนี้แล้วทำใจไว้ด้วยเลยนะครับ
2 เต่าญี่ปุ่นกินเนื้อเป็นหลัก(อย่าคิดว่าเต่ากินเต่าผักบุ้ง) ควรให้อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อกุ้ง เนื้อปลา ไส้เดือน หนอนนก หรือแม้แต่อาหารเม็ดของปลาดุกที่โปรตีนสูงๆก็สามารถใช้ได้ดีครับ  สำหรับอาหารสำเร็จรูปของเต่าเม็ดเขียวๆยาวๆถึงราคาจะแพงแต่คุณภาพห่วยสิ้นดีครับ ไม่ต้องซื้อมาให้เต่ากินหรอกครับ สารอาหารมันน้อยไป    เราสามารถเสริมผักให้เต่ากินได้บ้าง แต่มันกินไม่มากหรอกครับ แค่แทะๆเล่นเท่านั้น
3 ควรมีการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆเพราะเต่าชอบถ่ายใส่น้ำและน้ำเสียเร็วมาก ถ้าปล่อยให้หมักหมมเต่าอาจเป็นรโรคผิวหนังจากแบคทีเรียได้ครับ
4 เวลาเต่าลอกคราบจะเห็นเป็นเมือกๆขาวๆตามคอและขา เต่ามันจะกินคราบของมันเองไม่ต้องกังวล
ง่ายๆใช่ไหมครับ สำหรับการดูแลเต่าญี่ปุ่น (เต่าซื้อง่าย แต่คนทำตายบ่อย) หากคุณทำได้ตามน้ำ เต่าก็จะมีสุขภาพดีไปอีกหลายสิบปีเลย
ชวงนี้บ้านเมืองง่อนแง่นโงนเงน ถึงตอนนี้จะเลือกตั้งเสร็จแล้ว แต่บรรยากาศก็ยังมาคุ มาคุ ดูทะแม่งๆอยู่ดี นักการเมืองร้อนรนวิ่งกันขาขวิด เราประชาชนตาดำๆไม่ต้องร้อนรน มานั่งดูเต่าน้ำแสนน่ารักเล่นๆให้เย็นใจดีฝ่า ฮ่าๆ เอิ๊ก ประกอบกับช่วงนี้มีคนตั้งกระทู้ถามกันเยอะแยะมากมายเลยครับ แสดงให้เห็นถึงเต่าที่ความนิยมอันดับหนึ่ง ครองใจผู้เลี้ยงได้อย่างอำตะนิรันดร์กาลจริงๆ.
          เต่าญี่ปุ่น
          เต่าญี่ปุ่นมีชื่อสามัญภาษาฝรั่งว่า Red-eared sliders (Trachemys scripta elegans) มีถิ่นกำเนิดไล่ขึ้นไปตั้งแต่ใต้สุดของโอกินาว่าขึ้นไปจนถึง......จว๊าก ชื่อพาเคลิ้ม ความจริงแล้วเต่าญี่ปุ่นไม่ได้มาจากญี่ปุ่นและก็ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดที่ญี่ปุ่นนะครับ แต่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา ในแหล่งน้ำของรัฐมิสซิสซิปปี้ แล้วก็ไล่ตั้งแต่แถวๆ อิลินอยส์ ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโกเลยครับ
         แล้วทามมายมันชื่อเต่าญี่ปุ่น อันนี้เซียนท่านบอกไว้ว่า ก็เพราะว่าถิ่นกำเนิดนั้นอยู่ทวีปอเมริกาและนำเข้าไปเป็นสัตว์เลี้ยงที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วคนไทยก็ไปเอานำเข้ามาจากญี่ปุ่นอีกที ก็เลยตั้งชื่อทางการค้าง่ายๆว่าเต่าญี่ปุ่นนั่นเองครับ
        เต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าน้ำ(เต่าชายน้ำ)มีเท้าเป็นพังผืดว่ายน้ำได้ดี ตอนเด็กๆกระดองค่อนข้างกลม สีเขียวมีลวดลาย คล้ายลายไม้ ผิวหนังก็เป็นสีเขียวมีลวดลายเช่นกัน บริเวณหางตาทั้งสองข้างมีแถบสีแดงอันเป็นที่มาของชื่อเต่าหูแดงหรือเต่าแก้มแดงนั่นเองครับ พอโตขึ้นสีเขียวสดบนกระดองจะจางลงและกลายเป็นสีน้ำตาลอาจยังมีลายเขียวๆหลงเหลืออยู่บ้าง ขนาดความยาวตัวเมียประมาณ 1 ฟุต ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย ถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป โตเต็มที่เมื่อมีอายุ 7 ปี อายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี
         เต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ในขณะที่ยังเป็นเด็กจะต้องการเนื้อสัตว์เป็นอาหารมากกว่าพืชในอัตราส่วนเนื้อสัตว์ร้อยละ70 พืชร้อยละ30 แต่เมื่อโตขึ้นเต่าญี่ปุ่นจะกลับเนื้อกลับตัว บริโภคพืชเป็นส่วนใหญ่ ในอัตราส่วน พืชร้อยละ90 เนื้อสัตว์ร้อยละ10 (Wilke,1979)
เต่าญี่ปุ่นที่เราเลี้ยงส่วนมากจะซื้อมาตั้งแต่เต่ายังเล็ก ก็ควรให้อาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ อาทิเช่น กุ้งฝอย เนือปลา หนอนนก หนอนแดง ไส้เดือน ฯลฯ รวมถึงอาหารปลา อาหารเต่าสำเร็จรูปต่างๆด้วยครับ ไม่ควรให้อย่างเดียวชนิดเดียวตลอด ควรให้หลายอย่างสลับสับเปลี่ยนคละเคล้ากันไป พวกพืชก็ให้ไดหลากหลายครับ ผักบุ้ง ผักกาด คะน้า กวางตุ้ง ตำลึง ใบผักตบชวา ฯลฯ
โดยนิสัยเต่าญี่ปุ่นจะกินในน้ำเป็นหลัก (แต่ก็สามารถงับอาหารบนบกได้) ดังนั้นก็ใส่อาหารลงไปในน้ำเลยครับเดี๋ยวเค้าจัดการกันเอง
         เนื่องจากเต่าญี่ปุ่นเป็นเต่าน้ำ (เต่าชายน้ำ) อาศัยอยู่ในน้ำ กินอยู่ขับถ่ายก็กระทำในน้ำ ดังนั้นจึงควรรักษาความสะอาดน้ำในที่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าติดระบบกรองน้ำแบบเลี้ยงปลาสวยงามไปเลยก็ดีเลยครับ ภาชนะที่ใช้เลี้ยงพื้นฐานสุดๆก็คงจะเป็นตู้ปลาครับ เลือกขนาดตู้ปลาก็ขอให้ใหญ่ๆหน่อย เพราะเต่าตัวนี้อัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างเร็วครับ แต่จะว่าไปตู้ปลาก็ไม่ใช่ภาชนะที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงเต่าญี่ปุ่นนะครับ เต่าญี่ปุ่นไม่ต้องการน้ำที่ลึกมาก เลี้ยงในอ่างหรือบ่อกว้างๆใหญ่ๆดีกว่าครับ เพราะเต่าญี่ปุ่โตเต็มที่เป็นฟุตนะครับ
         เนื่องจากเต่าญี่ปุ่นเป็นสัตว์เลือดเย็น แสงแดดจากดวงอาทิตย์จึงจำเป็นต่อเต่ามากๆๆๆๆๆ สถานที่เลี้ยงก็ควรเป็นที่ๆรับแสงธรรมชาติได้อย่างน้อย 1-2ชั่วโมง โดยมีร่มเงาไว้ให้หลบร้อนด้วย เต่าญี่ปุ่นชอบขึ้นมาอาบแดดบนบกเอามากๆ ดังนั้นจึงควรจัดให้มีตลิ่ง เชิง ชาน ดิน กรวด ทราย หรืออะไรก็ตามที่เป็นบกให้น้องเต่าขึ้นมาอาบแดดได้ แสงแดดจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้ร่างกาย ช่วยย่อยอาหาร การเจริญเติบโต ช่วยดึงสารอาหารไปใช้ รวมถึงฆ่าเชื้อโรค เชื้อราที่ติดอยู่ตามกระดองและผิวหนังให้หมดไป
         ถ้าไม่สะดวกพาเต่ามาอาบแดด ก็มีหลอดยูวีสำหรับสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ซื้อมาใช้ก็พอถูไถไปได้ แต่ยังไงก็สู้แสงแดดธรรมชาติไม่ได้หรอกครับ ฮ่าๆๆ
         ในขณะยังเด็กเต่าญี่ปุ่นจะยังไม่สามารถแยกเพศได้ชัดเจน จะเริ่มดูออกเมื่อเต่ามีขนาด 3-4 นิ้วขึ้นไป โดยตัวเมียจะตัวใหญ่และโตเร็วกว่าตัวผู้อย่างเห็นได้ชัด ตัวผู้จะหางยาวกว่า เล็บยาวแหลม ท้องกระดองเว้า ตัวเมียเล็บสั้น หางสั้น ท้องกระดองแบนราบ
         เต่าญี่ปุ่นมีวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป เต่าจะเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ 2 ช่วง คือ เดือนมีนาคมและมิถุนายน และจะวางไข่ช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม การผสมพันธุ์จะดำเนินการกันในน้ำนะครับ โดยตัวผู้จะว่ายน้ำตามตัวเมีย และเมื่อตัวเมียพร้อม ตัวเมียจะหยุดและทิ้งตัวลงใต้น้ำ ตัวผู้จะตามไปใช้เล็บยาวๆเกาะที่กระดองตัวเมีย ส่วนเว้าของกระดองตัวผู้ ก็จะประกบกับส่วนโค้งของกระดองตัวเมียพอดี จากนั้นตัวผู้ก็จะ... จว๊าก ไม่ต้องเล่ามากก็ได้ตอนนี้..
จำนวนไข่ของเต่าญี่ปุ่นที่มีการบันทึกเอาไว้ก็ประมาณ 4-23 ฟอง โดยจะวางไข่บนบก แม่เต่าจะขุดหลุมวางไข่บนพื้นดิน ใช้เวลาประมาณ 60-75 วันเพื่อฟักเป็นตัว ใครจะเพาะพันธุ์สถานที่ก็ควรมีทั้งน้ำทั้งบกทั้งพื้นดินนะครับ
          เต่าญี่ปุ่นโตมาตัวก็ใหญ่ กินเยอะขี้ก็เยอะ สีก็เปลี่ยนไปไม่สวยน่ารักเหมือนเก่า เหม็นก็เหม็น เลี้ยงไปเลี้ยงมาเมื่อไหร่คิดได้ดังนี้แล้วก็อย่าเอาไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาตินะครับ เต่าญี่ปุ่นจะไปแย่งที่อยู่และแหล่งอาหารของเต่าพื้นเมืองของเรา เต่าญี่ปุ่นกินก็เก่งกินไม่เลือก ขยายพันธุ์ง่าย อัตราการรอดสูงแถมไข่เยอะอีก ผิดกับเต่าไทยของเราไข่ทีน้อยจัง ยังไงก็คิดพิจราณาศึกษาก่อนเลี้ยง วางแผนและเตรียมการจัดการให้ดีๆ เพื่อเต่าแสนรักของเรานะคร๊าบบบ.. ตัวอย่างเต่าญี่ปุ่น